วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ

เด็กดีดอทคอม :: AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ

           มหาวิทยาลัย Academy of Art ก่อตั้งเมื่อปี 1929 ที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจิตรกร Richard S. Stephens ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหน่ง Creative Director ของนิตยสาร Sunset Magazine. Richard S. Stephens และภรรยา Mrs. Clara Stephens ได้ร่วมกันเปิดโรงเรียนศิลปะแห่งใหม่ขึ้นใน loft (อาคารแบบที่มีเพดานสูง)ที่เช่าเพียงหนึ่งห้อง ณ. เลขที่ 215 ถนน Kearny โดยสอนวิชาโฆษณา เพียงภายในไม่กี่ปี ได้มีการรวมตัวมืออาชีพชื่อดังด้านศิลปะและดีไซน์ขึ้นเพื่อเป็นคณาจารย์ รวมทั้งปรัชญาของโรงเรียนได้ร่างขึ้นดังนี้ “มืออาชีพแห่งยุคนี้ สอนมืออาชีพในยุคหน้า" โรงเรียนได้ขยายหลักสูตรขึ้นเพิ่มสาขา Fashion Illustration ในปี 1933 และมีสาขา Fine Art ในปี 1936
เด็กดีดอทคอม :: AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ
           ในปี 1951 หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Stanford Dr. Richard A. Stephens จึงขึ้นรับตําแหน่งอธิการบดีโรงเรียนแทนผู้ปกครอ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โรงเรียนได้เติบโตจากเดิมที่มีนักเรียนจํานวน 50 คนใน loft เช่า 2 ห้อง เป็นจํานวนนักเรียน 5,200 คนและมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ในปี 1966 สํานักงาน Private Postsecondary and Vocational Education แห่งรัฐ California รับรองคุณวุฒิให้เปิดสอนหลักสูตรสําหรับปริญญาตรีทางด้าน Fine Art เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทเมื่อปี 1977 และได้รับรองคุณวุฒิในปี 1983
           ต่อมา Dr. Elisa Stephens ผู้เป็นหลานสาวของผู้ก่อตั้ง ได้สืบทอดตําแหน่งอธิการบดีจากบิดาในปี 1992 Dr. Stephens อยู่ในความตั้งมั่นเสมอมาในการขยายหลักสูตรของมหาวิทยาลัย Academy ให้สอดคล้องและทันต่อความเปลี่ยนแปลงของแนวทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ และได้จัดเตรียมการเรียนการสอนและสิ่งอํานวยการสอนที่ทันสมัยให้แก่นักเรียน โรงเรียนเปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในปี 2004 ด้วยโรงเรียนได้รับการยกย่องในวิชาหลักสูตรที่ละเอียด มีเนื้อหาครอบคลุมและได้มาตรฐาน
เด็กดีดอทคอม :: AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ
           ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 17,000 คน จึงเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนทางด้านศิลปะและการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา นักเรียนสามารถเข้าศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีด้านศิลปกรรมศาสตร์, ปริญญาตรีด้านนิเทศศาสตร์, อนุปริญญา, ปริญญาโทด้านศิลปกรรมศาสตร์, ปริญญาโทด้านนิเทศศาสตร์, ปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือ ประกาศนียบัตร มากกว่า 30 สาขาวิชา

สาขาที่เปิดสอนAdvertising , Animation& Visual Effectes , Architecture , Art Education , Fashion , Fine Art , Game Design , Graphic Design , Illustration , Industrial Design , Interior Architecture & Design , Landscape Architecture , Motion Pictures & Teelevision , Multimedia Communications , Music Productions & Sound Design , Photography , Web Design & New Media
เด็กดีดอทคอม :: AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ
การสมัครสำหรับนักศึกษาต่างชาติระดับปริญญาตรี
- APPLICATION FORM ใบสมัคร ส่งใบสมัครพร้อมกับค่าสมัครและค่าธรรมเนียมการศึกษา
- APPLICATION FEE ($100) and TUITION DEPOSIT ($500) ค่าสมัคร ($100) และค่าธรรมเนียมการศึกษา ($500) แนบเช็คต่างประเทศสั่งจ่าย ค่าธรรมเนียมการศึกษา $500 จะนำไปหักคืนให้กับค่าเรียนในเทอมเเรกเมื่อลงทะเบียน.
- REGISTRATION FEE $20 ค่าลงทะเบียน $20 เรียกคืนไม่ได้หลังจากลงทะเบียนแล้ว
- OFFICIAL TRANSCRIPTS ใบรายงานผลการเรียน สำหรับนักศึกษาที่จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ยื่นใบรายงานผลการเรียนหรือใบประกาศนียบัตรจบการศึกษาจากระดับมัธยมศึกษา(ม.6) ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา
- AFFIDAVIT OF SUPPORT หนังสือรับรองจากผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย.
- OFFICIAL/ORIGINAL BANK LETTER หนังสือรับรองจากธนาคาร มีอย่างน้อย $36,000 USD หรือประมาณ 1,080,000 บาทเอกสารเป็นภาษาอังกฤษและเป็นตัวจริง
- PHOTOCOPY OF PASSPORT สำเนาพาสปอร์ต.
- TOEFL OR TOEIC SCORE (ไม่มีคะเเนนขั้นต่ำ)
- PORTFOLIO ผลงานศิลปะที่เคยทำไว้
ค่าเล่าเรียนต่อปีทั้งปริญญาตรีและโท ปีละ $36,000 USD หรือประมาณ 1,080,000 บาท

เด็กดีดอทคอม :: AAU สถาบันศิลปะ พร้อมสาขาที่น่าเรียนสุดๆ


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/content/studyabroad/24942/AAU-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%86.php#ixzz1N5Szdkrn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น